ภาควิชาเคมีคลินิก
การเรียนการสอน
หลักสูตรปริญญาบัณฑิต
ปัจจุบันภาควิชาจุลทรรศน์ศาสตร์คลินิก คณะสหเวชศาสตร์ ร่วมรับผิดชอบในการจัดการเรียนการสอนและผลิตบัณฑิต ระดับปริญญาบัณฑิต ในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ โดยร่วมกับภาควิชาจุลทรรศนศาสตร์คลินิก และภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือดและจุลชีววิทยาคลินิก โดยภาควิชาเป็นผู้รับผิดชอบด้านการสอนใน 3 กลุ่มรายวิชาหลักตามศาสตร์ทางเทคนิคการแพทย์
รายวิชาหลักด้านเคมีคลินิก
ประกอบด้วย
กลุ่มรายวิชาเคมีคลินิกพื้นฐาน
Fundamental Clinical Chemistry Laboratory
กลุ่มรายวิชานี้จะเรียนรู้เกี่ยวกับหลักการของเทคนิคพื้นฐานสำหรับงานตรวจวิเคราะห์ทางเคมีคลินิก ได้แก่ ความปลอดภัยสำหรับ ห้องปฏิบัติการ การใช้หน่วยในระบบสากล ศัพท์พื้นฐานทางการแพทย์ การเก็บและ ดำเนินการกับสิ่งส่งตรวจ เครื่องมืออัตโนมัติทางเคมีคลินิก การตรวจ ณ จุดดูแลผู้ป่วย และได้ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการเก็บและดำเนินการกับสิ่งส่งตรวจ ผังการไหลของงานทางห้องปฏิบัติการ ปฏิบัติการเสมือนจริง และ ผู้ป่วย-บุคลากร-สังคมปลอดภัย
เคมีคลินิกประยุกต์สำหรับการตรวจวิเคราะห์ประจำ
Applied Clinical Chemistry for Routine Testing
กลุ่มรายวิชานี้จะเรียนรู้เกี่ยวกับหลักการและวิธีตรวจวิเคราะห์ประจำทางเคมีคลินิก หลักการควบคุมคุณภาพของห้องปฏิบัติการ เคมีคลินิก สาเหตุของการเกิดโรค พยาธิสรีรวิทยา หลักการทดสอบ ความสำคัญทางคลินิก การแปลผลของการทดสอบชุดต่าง ๆ ได้แก่ ชุดตรวจโรคเบาหวาน การทดสอบการทำหน้าที่ ของไต แก๊สและอิเล็กโตรไลต์ในเลือด การทดสอบชุดไขมัน การทดสอบเกี่ยวกับหัวใจ และ การทดสอบการทำหน้าที่ของตับ การทดสอบการทําหน้าที่ของตับอ่อน โรคความดันโลหิตสูง เครื่องมืออัตโนมัติ ส่วนภาคปฏิบัตินิสิตจะได้เรียนรู้เรื่องการประเมินคุณภาพทางห้องปฏิบัติการโดยองค์กรภายนอก และโปรแกรมทดสอบความชำนาญ ปฏิบัติการตรวจกลูโคสทางห้องปฏิบัติการ การทดสอบความทนต่อน้ำตาล ฮีโมโกลบินเอวันซี ไมโครอัลบูมินยูเรีย ยูเรีย ครีเอทินีน กรดยูริค โปรตีนในปัสสาวะ การทดสอบความสามารถใน การขจัดสารออกจากร่างกาย คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ เอชดีแอล-คอเลสเตอรอล การทดสอบการทำงานของหัวใจและไอโซเอนไซม์ของหัวใจ เอเอสที/เอแอลที เอแอลพี จีจีที บิลลิรูบิน โปรตีนรวม อัลบูมิน อะมิเลส วิธีการใช้เครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติ กรณีศึกษา การควบคุมคุณภาพทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การปฎิบัติงานในห้องปฏิบัติการเสมือนจริง และผู้ป่วย-บุคลากร-สังคมปลอดภัย
ปฏิบัติการเคมีคลินิกขั้นสูงและคลินิกสัมพันธ์
Advanced Clinical Chemistry and Correlation
กลุ่มรายวิชานี้จะเรียนรู้เกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดโรค พยาธิสรีรวิทยา หลักการทดสอบ ความสําคัญทางคลินิก การแปลผล การวิเคราะห์ของการทดสอบต่างๆ ทางห้องปฏิบัติการ และความปลอดภัยของผู้ป่วย ได้แก่ การทดสอบการทําหนาที่ของไฮโปธาลามัส ต่อมใต้สมอง ต่อมธัยรอยด์ ต่อมหมวกไต ต่อม พาราธัยรอยด์และฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ ชีววิทยาของมะเร็งและสารบ่งชี้มะเร็ง โรคกระดูกพรุน โภชนาการและการประเมินภาวะโภชนาการ การเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี ระหว่างการตั้งครรภ์ ความผิดปกติของเมแทบอลิซึมแต่กำเนิดและระหว่างการตั้งครรภ์ เคมีคลินิก ในผู้สูงอายุและเด็ก วิตามินดีและการตรวจวัดหาปริมาณทางห้องปฏิบัติการ การปฏิสนธิในหลอด ทดลอง ชีวเคมีคลินิกในผู้สูงอายุ การปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีในโรคโลหิตจาง การประเมินวิธี วิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ และการบูรณาการทางเคมีคลินิก นอกจากนี้นิสิตจะได้ฝึกปฏิบัติการทดสอบทางห้องปฏิบัติการเรื่อง ฮอร์โมนธัยรอยด์ ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ แคลเซียม ฟอสฟอรัส สารบ่งชี้โรคมะเร็ง วิตามินดี โทโทลไอออนไบดิ้งคะแพซซิทีและปริมาณ ธาตุเหล็กในเลือด ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์เสมือนจริง และ ผู้ป่วย-บุคลากร-สังคมปลอดภัย
รายละเอียดเพิ่มเติม (เอกสารหลักสูตร)
หลักสูตรที่ภาควิชาฯ ร่วมรับผิดชอบ
ปริญญาตรี
สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566)
Bachelor of Science Program in Medical Technology
จัดการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ของผู้เรียนเพื่อผลิตบัณฑิตเทคนิคการแพทย์ที่เป็น พลเมืองโลกและพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณ มีสมรรถนะพร้อมปฏิบัติงานและ เป็นที่ต้องการของสังคม เท่าทันเทคโนโลยี มีทักษะการใช้ชีวิต รู้จักเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนและพัฒนางาน อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างเสริมสังคมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
หลักสูตรบัณฑิตศึกษา
ปัจจุบันวิทยาการและเทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์มีการพัฒนาเจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มชัดเจนที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง วิทยาการสาขาชีวเคมีคลินิกเป็นสาขาวิชาที่มีบทบาทสำคัญในการทำให้เข้าใจกลไกสาเหตุของการเกิดโรค การดำเนินโรค และการเกิดพยาธิสภาพต่างๆ ซึ่งความรู้เหล่านี้จะนำไปสู่การวินิจฉัยโรค การพยากรณ์โรค และการป้องกันรักษา ส่วนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอณูทางการแพทย์ จะทำให้เข้าใจลึกซึ้งถึงกลไกสาเหตุระดับยีน ซึ่งจะทำให้สามารถเข้าใจในสิ่งซึ่งไม่อาจอธิบายได้ในอดีต สามารถชี้แนวทางในการรักษา และสามารถพยากรณ์โรค หรืออุบัติการของโรคได้ล่วงหน้าก่อนที่จะปรากฏอาการหรือแม้กระทั่งก่อนการกำเนิดชีวิต ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีผู้ที่มีความรู้ความสามารถในด้านเหล่านี้ เพื่อรองรับความต้องการของสังคม คุณสมบัติที่สำคัญนอกเหนือจากความรู้ในศาสตร์เหล่านี้ คือ ความสามารถในการติดตามและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสำหรับการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ ตลอดจนความสามารถในการบริหารจัดการและพัฒนางานปฏิบัติการวิเคราะห์ได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีการผลิตบุคลากรที่มีคุณสมบัติเหล่านี้อย่างครบถ้วน
ภาควิชาเคมีคลินิก คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านชีวเคมีคลินิกและอณูทางการแพทย์ ตลอดจนความต้องการบุคลากรเหล่านี้ของสังคม จีงได้กำหนดให้มีการเปิดการสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต สาขาชีวเคมีคลินิกและอณูทางการแพทย์ อีกทั้งยังได้รับความร่วมมือสนับสนุนด้านการเรียนการสอน และการรับนิสิตไปเพิ่มประสบการณ์ในการทำวิจัยจากสถานศึกษาและหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นการเสริมให้การเรียนการสอนในหลักสูตรนี้มีความหลากหลาย และสมบูรณ์อย่างยิ่ง
เนื่องจากหลักสูตรนี้ได้รับการออกแบบใหัมีความผสมผสานขององค์ความรู้ต่างๆ อันประกอบด้วยวิทยาการก้าวหน้าในศาสตร์ด้านชีวเคมีคลินิกและอณูทางการแพทย์ ร่วมกับความรู้ด้านเทคโนโลยีการวิเคราะห์ที่ทันสมัย และความรู้เกี่ยวกับระบบคุณภาพสำหรับห้องปฏิบัติการ จึงมุ่งหวังได้ว่าผู้ที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนี้จะเป็นผู้ที่พร้อมทั้งด้านศาสตร์และเทคโนโลยีและมีความเข้าใจในระบบคุณภาพ ซึ่งเป็นข้อกำหนดสำคัญของการปฏิบัติงานในปัจจุบัน ดังนั้น บัณฑิตของหลักสูตรนี้จึงมีความสามารถปฏิบัติงานได้อย่างกว้างขวางทั้งในหน้าที่ อาจารย์ นักวิจัย และหัวหน้า หรือผู้จัดการห้องปฏิบัติการ
รายวิชาบังคับ
- ชีวเคมีคลินิกขั้นสูง Advanced Clinical Biochemistry
- เทคนิควิเคราะห์สำหรับห้องปฏิบัติการทางคลินิก Clinical Laboratory Analytical Techniques
- ปฏิบัติการทางอณูชีววิทยา Molecular Biology Laboratory
- สัมมนา Seminar
- เอกัตศึกษา Individual Study
- อณูทางการแพทย์และการแพทย์แม่นยำ Molecular and Precision Medicine
- เซลล์และอณูชีววิทยา Cell and Molecular Biology
- การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยและระเบียบวิธีวิจัย Grant Proposal Writing and Research Methodology
- การบริหารห้องปฏิบัติการในยุคใหม่ Laboratory Management in New Era
รายวิชาเลือก
- อณูชีววิทยาขั้นสูง Advanced Molecular Biology
- ชีวสารสนเทศศาสตร์ Bioinformatics
- การเขียนและนำเสนอผลงานวิจัยสำหรับนักชีวเวชศาสตร์ Research Writing and Presentations for Biomedical Scientists
- การฝึกเขียนและนำเสนอผลงานวิจัยสำหรับนักชีวเวชศาสตร์ Practice in Research Writing and Presentations for Biomedical Scientists
- เซลล์เทคโนโลยีและการประยุกต์ใช้ในงานวิจัยทางชีวเวชศาสตร์ Cell technologies and applications in biomedical research
รายละเอียดเพิ่มเติม (เอกสารหลักสูตร)
หลักสูตรที่ภาควิชาฯ รับผิดชอบ
ปริญญาโท
สาขาวิชาชีวเคมีคลินิกและอณูทางการแพทย์
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566)
Master of Science Program in Clinical Biochemistry and Molecular Medicine
ปริญญาเอก
สาขาวิชาชีวเคมีคลินิกและอณูทางการแพทย์
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566)
Doctor of Philosophy Program in Clinical Biochemistry and Molecular Medicine
มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม และเป็นเลิศทางด้านชีวเคมีคลินิกและอณูทางการแพทย์ สร้างเสริมองค์ความรู้ใหม่สู่สังคมระดับชาติและนานาชาติ
ภาควิชาเคมีคลินิก