หน่วยปฏิบัติการวิจัยทางด้านผลิตภัณฑ์ธรรมชาติเพื่อป้องกันความเสื่อมของเซลล์ประสาทและต้านความชรา
Natural Products for Neuroprotection and Anti-ageing (Neur-Age Natura) Research Unit
หน่วยปฏิบัติการวิจัยทางด้านผลิตภัณฑ์ธรรมชาติเพื่อป้องกันความเสื่อมของเซลล์ประสาทและต้านความชรา ตั้งอยู่ที่คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิจัย ฤทธิ์และกลไกของผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติในการป้องกันและรักษาโรคไม่ติดต่อและโรคติดเชื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต้านความชราและการเสื่อมสภาพของเซลล์ในระบบประสาท หน่วยปฏิบัติการวิจัยผลิตภัณฑ์ทางธรรมชาติ มีการวิจัยเพื่อศึกษาค้นคว้าหาอาหารและยาใหม่ มีการวิเคราะห์สารสกัดจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและสารพฤกษเคมีที่แยกออกมาจากสารสกัดหยาบ ด้วยความร่วมมือกับสถาบันที่มีชื่อเสียงระดับโลกหลายแห่ง คณะผู้วิจัย ได้บูรณาการทั้งด้านเคมีและชีวภาพที่ทันสมัย เพื่อออกแบบและศึกษาค้นคว้าผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ นอกจากนี้ เราได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆ และภาคเอกชนในประเทศไทย ดังนั้น คณาจารย์ที่มีส่วนร่วมในการวิจัยยาและผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ มุ่งเป้าเพื่อความเป็นเลิศในการพัฒนาและศึกษายาชนิดใหม่ ซึ่งนำไปสู่องค์ความรู้ในการตีพิมพ์ผลงานในวารสารชั้นเยี่ยม และ การสร้างนวัตกรรม เพื่อก่อให้เกิดความยั่งยืน โดยนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง
ขอบเขตการวิจัย
- ฤทธิ์ปกป้องเซลล์ประสาทและกลไกการออกฤทธิ์ระดับโมเลกุลของสารสกัดสมุนไพรไทยและสารออกฤทธิ์ชีวภาพ
- ผลและกลไกของสารสกัดจากพืชสมุนไพรที่มีต่อการเพิ่มอายุขัย การทนต่อสภาวะเครียด และการปกป้องระบบประสาทในโมเดลหนอนซีอีลีแกนส์
- การศึกษาผลิตภัณฑ์ธรรมชาติเพื่อต้านการแก่ชราของผิวหนังในโมเดลเซลล์เพาะเลี้ยงและหนอนซีอีลีแกนส์
- ฤทธิ์และกลไกของสารสกัดสมุนไพรไทยและสารพฤกษเคมีต่อการป้องกัน การยับยั้ง และการรักษา โรคเบาหวานและโรคกลุ่มเมแทบอลิกซินโดรม
ความร่วมมือ
งานวิจัยเด่น
C. elegans เป็นหนอน ซึ่งเป็นโมเดลที่ใช้ในการศึกษาเพื่อค้นหายาใหม่จากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่มีสรรพคุณในด้านต่างๆ ได้แก่ การต้านความชรา ความต้านความเครียด การป้องกันเซลล์ประสาท การตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น ในภาพนี้ คณะผู้วิจัย กำลังศึกษาถึงระดับความชราของหนอนที่ได้รับการรักษาด้วยสารสกัดจากพืชสมุนไพร ที่มีคุณสมบัติในการต้านความชรา สีเขียวแสดงถึงการสะสมของโปรตีน lipofuscin ที่เรืองแสงฟลูออเรสเซนท์ โดยโปรตีนนี้จะเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น ภาพนี้ ถ่ายโดยใช้กล้องจุลทรรศน์คอนโฟคอล ZEISS LSM 700 กำลังขยาย 10X
ผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติและนานาชาติ
ติดต่อ
ผศ.ดร.เทวิน เทนคำเนาว์ (หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการ)
ภาควิชาเคมีคลินิก คณะสหเวชศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
154 อาคารจุฬาพัฒน์ 1 ถนนพระราม 1 ซอยจุฬา 12 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กทม. 10330